สรุปบทความแสงสีกับชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวันของเรานั้น
มีอีกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเราเสมอ
เรื่องนี้อาจจะทำให้เราเห็นข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่มีตาที่ดีเหมือนงูหรือ
แมลงบางชนิด นั่นก็คือเรื่องของแสงสี แสงสีเราจับต้องไม่ได้
เราจะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อมันไปกระทบกับอะไรสักอย่างซึ่งเราจะเรียกว่าฉาก
เมื่อแสงสีไปกระทบกับฉากจึงจะมองเห็นแสงสีนั้นแม่ของแสงสีมีทั้งหมด 3 แสงสีด้วยกัน
คือแสงสีแดง แสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว ทำไมมีแค่สามแสงสี
นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองแล้วว่า แสงสีต่างๆ
ที่มีอยู่ในโลกนั้นเกิดจากการผสมกันของแสงสีทั้งสามนี้ทั้งสิ้น
แล้วแสงสีเหล่านี้มาจากที่ไหนคำตอบก็คือดวงอาทิตย์นั่นเองเพราะดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ให้ทั้งความร้อนและความสว่างแก่โลก
ความสว่างนั่นเองก็คือแสง แต่ที่เรามองไม่เห็นแสงสีของอาทิตย์เพราะว่า
แสงสีที่มาจากดวงอาทิตย์นั้นเป็นแสงขาว
ที่เรียกแสงขาวก็เพราะแสงอาทิตย์ไปกระทบกับฉากสีขาวก็จะเป็นสีขาวนั่นเอง ขณะที่แสงสีแดงตกกระทบฉากสีขาว
เราจะมองเห็นเป็นสีแดง เราก็เรียกแสงสีแดงนั่นเอง
แต่ถ้าเราเอาแสงสีเขียวและแสงสีแดงปริมาณเท่าๆกันไปฉายผสมกันในจอสีขาวเราจะ
มองเห็นเป็นสีเหลือง หมายความว่า แสงสีเหลืองที่เราเห็นเกิดจากการรวมกันของแสงสีแดงและแสงสีเขียวในปริมาณที่เท่ากันดวงตาของเราเป็นอวัยวะที่ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ
ภายในดวงตาของเราจะมีส่วนที่รับแสงสีที่มีชื่อว่า เรตินา
ส่วนเรตินานี้เองที่จะมีหน่วยรับสัมผัสเกี่ยวกับแสงสี
เพราะในเรตินาจะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่รับแสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน
เมื่อเรามองไปยังวัตถุที่มีสีแดง
แสงสีแดงจะไปกระตุ้นให้เซลล์รับรู้สีแดงในเรตินาทำงาน และส่งกระแสประสาทไปยังสมองแปลความทำให้เรารู้ว่านั่นคือสีแดงเมื่อเรามองไปยังวัตถุที่มีสีเหลือง
ทั้งแสงสีแดงและแสงสีเขียวจะไปกระตุ้นให้เซลล์ที่รับรู้แสงสีแดงและแสงสีเขียวให้ทำงาน ทั้งสองจะส่งกระแสประสาทไปยังสมองให้เราแปลความว่าเรามองเห็นสีเหลือง
แต่ถ้าไม่มีแสงสีใดไปกระตุ้นให้เซลล์รับแสงสีทำงานเลย เราจะแปลความว่าเป็นสีดำ
ตรงข้ามกับสีขาวซึ่งจะเป็นการทำงานของเซลล์รับแสงสีทั้งสามให้ทำงานพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น
ใบไม้สดที่เรามองเห็นเป็นสีเขียว ก็อธิบายได้ว่าเมื่อแสงสีที่มาจากดวงอาทิตย์ซึ่งประกอบด้วยแม่แสงสีหลักๆ
สามแสงสีคือ แสงสีแดง แสงสีน้ำเงิน และแสงสีเขียว
แต่ใบไม้สดมีสารที่เราเรียกว่าคลอโรฟิลล์นั้นทำหน้าที่ดูดกลืนแสงสีแดงและ
แสงสีน้ำเงินไว้ แต่ไม่ดูดกลืนแสงสีเขียว ทำให้แสงสีเขียวนั้นสะท้องออกจากคลอโรฟิลล์ในใบไม้
เข้าสู่ดวงตา เซลล์รับรู้แสงสีเขียวถูกกระตุ้นให้ทำงาน แปลส่งไปยังสมองบอกว่า
ใบไม้มีสีเขียว อย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้นถ้าใบไม้มีคลอโรฟิลล์น้อย
เราจะมองเห็นสีเขียวน้อยลงด้วย และใบไม้แห้งไม่มีคลอโรฟิลล์
เราจะมองไม่เห็นสีเขียวในใบไม้แห้งเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น