วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชา การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207

Science Experiencces Management Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วัน พฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เวลาเรียน 08:30 -12:20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
 
 
กิจกรรม ปลาโลมาร่อนเชือก
 
อุปกรณ์  
     1 แกนกระดาษทิชชู
     2 กระดาษ Paper
    3ไหมพรม Yarn
    4 กาว Glue
    5 กรรไกร Scissors
    6 ที่เจาะกระดาษ
 
ขั้นตอนการทำ
1 .นำแกนทิชชูมาตัดครึ่ง
2. เจาะรูตรงกึ่งกลางของทิชชูทั้งสองข้าง
3 .นำกระดาษที่เตรียมไว้ตัดเป็นวงกลมให้พอดีกับแกนทิชชู
4 .วาดรูลงในกระดาษแล้วตกแต่งให้สวยงาม แล้วทากาว ติดลงทิชชู
นำไหมพรมร้อยตรงรูทั้งสองข้างแล้วมัดให้เรียบร้อย
 
                                                                      โลมาร่อนเชือก
 
เทคนิคการสอน
-การใช้คำถามปลายเปิด
-การเรียนรู้ด้วยตนเอง
-การประดิษฐ์สื่อและของเล่นทางวิทยาศาสตร์
เป็นสื่อในการเรียนรู้
การอภิปราย หลังกิจกรรม
                                          ความรู้ที่ได้จากการนำเสนอบทความ


 
 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
-นำความรู้ที่ได้ไปกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
-สอนเด็กๆทำสื่อวิทยาศาสตร์จากวัสดุที่เหลือใช้
การประเมินการเรียนการสอน
การประเมินตนเอง
-เข้าเรียนตรงต่อเวลา, แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
-จดบันทึกความรู้จากที่เพื่อนนำเสนอ และครูสอนได้
การประเมินเพื่อน
- ทำกิจกรรมที่ครูสอนได้
-ตั้งใจเรียนและฟังเพื่อนนำเสนองาน
-สนุกสนานในขณะที่ทำกิจกรรมและทดลองกับสื่อที่ตนเองทำ
การประเมินครูผู้สอน
-เข้าสอนตรงต่อเวลา, พูดจาไพเราะ
-สอนการทำสื่อ จากวัสดุเหลือใช้ ที่หาได้ง่ายโดยไม่ต้องซื้อและมีวิธีการทำที่ง่าย ไม่ซับซ้อน
-มีคำถามเพื่อทดสอบทักษะการคิด และอธิบายขยายความบทความที่เพื่อนนำเสนอให้เข้าใจง่าย
 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207

Science Experiencces Management Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วัน พฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

เวลาเรียน 08:30 -12:20 น.
 
 
 
   ความรู้ที่ได้
   การเรียนในวันนี้เริ่มต้นโดยการทำกิจกรรม คืออาจารย์จะแจกกระดาษสีและคลิปหนีบกระดาษมาให้
 
ชื่อสื่อ กังหันลมจากกระดาษ (Paper Windmill)
ขั้นตอนการทำ
  -ตัดกระดาให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    - พับครึ่งกระดาษ
    - ตัดกระดาษระหว่างกลาง ตัดขึ้นมาจนถึงเส้นกลางที่พับครึ่งกระดาษ
    - พับกระดาษทั้งสองข้างที่ตัดแยกจากกันแล้วใช้คลิปหนีบไว้
    - ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ
 
วิธีเล่น    ให้นำเจ้ากังหันที่ทำเสร็จแล้วมาโยน โยนแบบไหนก็ได้แล้วสังเกตดู
 
                                                                       กังหันลม
 

สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
-       สอนเรื่องแรงโน้มถ่วง Gravity
-      สอนเรื่องแรงต้านทาน Tension resistance
-      สอนเรื่องเรื่องแรงหมุน แรงเหวี่ยง Strong rotation,Centrifugal
 
                จากนั้น ก็เป็นการนำเสนอบทความของเพื่อน โดยสรุปออกมาได้ดังนี้
 
 

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applied)
1. สำหรับกิจกรรมที่ทำตอนต้นคาบ คือกิจกรรมกังหันลมจากกระดาษ สามารถนำไปให้เด็กปฐมวัยทำได้ เพราะวิธีการทำไม่ซับซ้อน อุปกรณ์หาง่าย และเป็นประโยชน์ในการเรียน
2. กิจกรรมที่ทำนำไปสอนเด็กในเรื่องของแรงโน้มถ่วง แรงต้านทาน แรงหมุน แรงเหวี่ยง ฝึกการสังเกตว่าทำไมกระดาษมันถึงหมุนได้ แต่บางอันทำไมมันตกลงพื้นช้า และตกเร็ว
เทคนิคการสอน (Teaching Methods)
1. การสอนโดยถามตอบ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากเรียน
2. ถามคำถามซ้ำๆ เพื่อให้เด็กจำได้
3. มีการจัดกิจกรรมตอนต้นคาบเพื่อกระตุ้นให้เด็กพร้อมที่จะเรียน
4. อาจารย์บอก แนะนำเรื่อง บล็อก สำหรับคนที่ไม่ได้ดำเนินการหรือยังไม่มีความคืบหน้าก็ให้รีบทำ
การประเมิน (Assessment)
ประเมินตนเอง (Assessment Self)
- เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
- ตั้งใจเรียน ตอบโต้กับครูเมื่อถามคำถาม
 
ประเมินเพื่อน (Assessment Friend)
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตอบโต้กับครูได้ดี
- ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอบทความ
ประเมินครู (Assessment Teachers)
-อาจารย์ใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลาเพื่อจะได้จำได้และเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น
-ก่อนเรียนอาจารย์จะมีกิจกรรมมาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้ทำ
- เมื่อเรียนเสร็จ ท้ายคาบอาจารย์จะแนะนำ ว่าบล็อกของใครยังไม่สมบูรณ์ และต้องดำเนินการอะไรบ้าง

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207

Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08:30 -12:20 น.
 

การเรียนการสอนในวันนี้ ก่อนเรียนอาจารย์มีทำกิจกรรมมาให้ทำ อาจารย์แจกกระดาษสีแล้วให้วาดรูปอะไรก็ได้ หลังจากที่วาดรูปเสร็จอาจารย์ก็แจกไม้คนละ1อัน ให้นำไม้ไปข้างในกระดาษ เมื่อติดเสร็จก็ลองหมุนดู พอนำมาหมุนรูปที่เราวาดมันก็จะสัมพันธ์กัน ซึ่งดิฉันได้วาดรูปผลไม้กับตระกร้าดังรูป

                                                                   กิจกรรมในวันนี้
 
 

หลังจากที่ทำกิจกรรมนี้เสร็จ อาจารย์ก็เปิดเพลงให้ฟัง เป็นเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งในเพลงสื่อความหมายออกมาว่า พิสูจน์ความรู้ (prove knowledge) ทดลอง (trials) และหาคำตอบ (answers)แล้วจะพบความจริง จากนั้นเพื่อนก็ออกมานำเสนอบทความ

                     บทความที่ 1 เรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับกับสะเต็มศึกษา

                    บทความที่ 2 เรื่อง โลกของเราอยู่ได้อย่างไร

                     บทความที่ 3 เรื่อง บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์
 
 
                            สรุปความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอ เรื่องความลับของแสง






การนำไปประยุกต์ใช้ (Applied)


1. สำหรับกิจกรรมที่ทำตอนต้นคาบ คือกิจกรรมวาดภาพที่สัมพันธ์กัน สามารถนำไปให้เด็กปฐมวัยทำได้ เพราะมีวิธีในการทำไม่ซับซ้อน ทำง่าย อุปกรณ์หาง่าย  ประหยัด และมีประโยชน์ในการเรียน

2. สำหรับเรื่องของแสง สามารถนำไปสอนเด็กได้ว่าแสงกำเนิดมาจากไหน มีสีอะไรบ้าง และแสงมีความสำคัญกับการดำรงชีวิตของเราอย่างไรบ้าง

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)


1. การสอนโดยถามตอบ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากเรียน

2. ถามคำถามซ้ำๆ เพื่อให้เด็กจำได้


การประเมิน (Assessment)


ประเมินตนเอง (Assessment Self)

 
- เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ

- ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่ ตอบโต้กับครูเมื่อถามคำถาม

ประเมินเพื่อน (Assessment Friend)

- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตอบโต้กับครูได้ดี

- ฟังเพื่อนเมื่อเพื่อนออกมานำเสนอบทความ

ประเมินครู
(Assessment Teachers)

 
- อาจารย์จะคอยกระตุ้นให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นออกมา คำตอบที่ตอบออกมาไม่มีผิดไม่ถูก

- อาจารย์จะใช้คำถามซ้ำๆเพื่อให้นักศึกษาจำได้