บันทึกอนุทินครั้งที่
13
วิชา
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี
13 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน
08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.
เวลาเข้าเรียน 08.30น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.
ความรู้ที่ได้
การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนอวิจัย
1. งานวิจัยเรื่องการส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
โดยใช้เกมการศึกษา 4
เกม คือ เกมจับคู่ภาพเหมือน ภาพเงา สังเกตภาพเหมือน และภาพตัดต่อและในวิจัยก็จะมีแผนการสอน เช่น สอนหน่วยน้ำใส ก็เป็นการสอนเกี่ยวกับน้ำ
2. งานวิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการเล่านิทาน
-โดยใช้ทักษะการสังเกต
การจำแนก และการสื่อสาร โดยเล่านิทานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
พอเล่าจบก็ทำการทดลองโดยให้เด็กพับเรือจากนั้นถามเด็กว่า ถ้านำไปลอยน้ำน้ำ
เรือจะจมหรือลอย หลังจากนั้นก็ให้ใส่ลูกแก้วลงไปในเรือทีละลูก
และให้เด็กสังเกตว่าต้องใส่ลูกแก้วกี่ลูกเรือจึงจะจม
3. งานวิจัยเรื่องการศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรม
เพื่อศึกษาผลของทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย
4. งานวิจัยเรื่องผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์
-เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ทักษะ ทางวิทยาศาสตร์
การจำแนก
การสังเกต
การหามิติสัมพันธ์
การลงความเห็น
เครื่องมือที่ใช้
แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิยาศาสตร์
ผลการวิจัย
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
5.
งานวิจัยเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เน้นกระบวนการ
วัตถุประสงค์
เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและแบบปกติ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
การสังเกต
การจำแนก
การหามิติสัมพันธ์
การลงความเห็น
การแสดงปริมาณ
เครื่องมือที่ใช้
แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 40 แผน
ผลการวิจัย
เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการจะมีทักษะทางวิทยาศาสตร์มากกว่าเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
6.
งานวิจัยเรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์
ศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
เปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
ก่อน-หลังการจัดกิจกรรม
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-การจำแนก
-การบอกรายละเอียด
-ความเหมือนต่าง
เครื่องมือที่ใช้
แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ผลการวิจัย
เด็กมีการคิดวิจารณญาณทั้งภาพรวมและรายด้านสูงกว่าเด็กปกติ
7. งานวิจัยเรื่องการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้
-แบบทดสอบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล
-การจำแนก
-การจัดประเภท
-อุปมา อุปมัย
-อนุกรม
-แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำวิจัยที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ
ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้และการเขียนแผนอย่างถูกต้อง การสอนได้ตรงตามแผน
และนำวิธีการสอนหรือตัวอย่างตามงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้เหมาะสมได้
การประเมินผล
(Evaluation)
ประเมินตนเอง
(Self)
แต่งกายเรียบร้อย
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัย และจดบันทึกตามในหัวข้อที่สำคัญ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา
แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังเพื่อนออกไปนำเนองานวิจัย และจดบันทึกตามที่เพื่อนนำเสนอ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย วันนี้นำเสนอวิจัย
อาจารย์ก็จะคอยอธิบายให้นักศึกเข้าใจว่าวิจัยเรื่องนี้เขาทำเกี่ยวกับเรื่องอะไร แผนการสอนของเขาเขียนไว้ยังไง
เขาสอนกี่วันในแต่ล่ะแผน เขานำไปสอนยังไง อาจารย์ก็จะคอยพูดเสริมให้เราเข้าใจง่ายแบบได้ใจความ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น