วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

                                                         บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


วิชา การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08:30 - 12:20 น.


ความรู้ที่ได้รับในการเรียนการสอน


     การเรียนการสอนในวันนี้ให้เพื่อนมาสรุปบทความที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก คือ  1.หลักการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  2. แนวทางสอนคิดเติม “วิทย์” ให้เด็กอนุบาล 3. อพวช.ผนึกพันธมิตรจัดงาน“วันนักวิทยาศาสตร์น้อย”หวังปลูกความรักวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย 4. การสอนลูกเรื่องการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งสรุปออกมาได้ดังนี้
 
 
 
 
 
       หลังจากที่เพื่อนออกมาสรุปบทความเสร็จแล้วอาจารย์ได้สอนเนื้อหาเรื่อง ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งสรุปออกมาได้ดังนี้

 
 
 
 
 

 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
 
  • จากที่ฟังบทความก็สามารถนำเอาความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กไปประยุกต์ใช้ว่าเด็กควรจะเรียนรู้เองตามธรรมชาติโดยไม่ควรเน้นเนื้อหาให้มากเกินไป
  • ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองให้ได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์การประสาทสัมผัสทั้ง 5โดยใช้ทักษะการสังเกต
  • นำมาจัดกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก
เทคนิควิธีการสอน
< !--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->การตอบคำถามโดยการวิเคราะห์
< !--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->การใช้คำถามที่หลากหลายโดยการถามถามปลายเปิดให้เด็กได้คิด
< !--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->การสรุปความรู้ที่ได้เรียนเพื่อการทดสอบความจำหรือความเข้าใจ

การประเมินหลังเรียน
  • ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังอาจารย์สอนเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ให้ได้มากที่สุด
  • เพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนตั้งใจตอบคำถามที่อาจารย์ถามอย่างเต็มที่
  • อาจารย์ :มีการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวและพยยามให้นักศึกษาได้กล้าแสดงออก เวลาอาจารย์ถามจะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้คิดวิเคราะห์และตอบคำถามซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ


 

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

                                                       บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
 
 
วัน พฤหัสบดี ที่ 4 เดือน กันยายน 2557
 
 
ความรู้ที่ได้โดยสรุปเป็น mind map
 
 
 
 
 

การนำไปประยุกต์ใช้
- นำข้อมูลไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อจะได้จัดกิจกรรมได้เหมาะสมตามวันชยของเด็ก
 
- จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครบทุกด้านและให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
 
                                                     บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


วันพฤหัสบดี ที่ 28 เดือน สิหาคม 2557


วันนี้ติดสอบสัมภาษณ์ กยศ เรยไม่ได้เข้าเรียน จึงไปศึกษาเนื้อหาที่เรียนจากเพื่อนและสรุปความรู้ออกมาดังนี้
ความกล้าแสดงออก ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย
1.พฤติกรรม = พัฒนาการ
2.การเรียนรู้ หรือ การเล่น
3.การอบรมเลี้ยงดู
สติปัญญา แบ่งได้ดังนี้
- ความคิด เช่น ความคิดเชิงเหตุผล เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ความคิดเชิงสร้างสรรค์
- การใช้ภาษา
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์จิตใจ  ด้านสติปัญญา ภาษา
พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การรับรู้ การซึมซับ
การเรียนรู้ =การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเพื่อการมีชีวิตรอดในสังคม
รับรู้ =ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
วิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ คือ การเล่น
การเล่น คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่สำคัญคือให้เด็กได้มีโอกาสเลือกเล่นด้วยตนเอง การจัดการเรียนการสอน การออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้
ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ จะช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็ก เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิดเป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น
สรุป
วิทยาศาสตร์คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัว ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติเด็ก จะเกิดการปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การนำไปประยุกต์ใช้
- จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง4 ด้านของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
       -จัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
         

                                             บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
วันพฤหัสบดี ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557


การเรียนการสอนในวันแรก


      อาจารย์ได้บอกรายละเอียดแนวการสอนที่เราจะต้องเรียนในเทอมนี้ว่าเราต้องเรียนอะไรบ้างและมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรบ้างและได้ทำข้อตกลงในห้องเรียน
งานชิ้นแรกที่จะต้องทำคือให้สร้างบล็อกของรายวิชานี้ โดยให้ใช้ศัพท์เป็นภาษาอังกฤษและสิ่งที่ต้องมีในการบันทึกการเรียน ได้แก่ เนื้อหาที่เรียน และการนำไปประยุกต์ใช้ว่าที่เราเรียนในวันนี้เราได้อะไรเราเข้าใจในสิ่งที่เรียนหรือเปล่า

องค์ประกอบของบล็อก ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

1. ชื่อวิชาเป็นภาษาอังกฤษ


2. รูป และข้อมูลส่วนตัว


3. ปฏิทิน และนาฬิกา


4. ลิงค์บล็อก


- อาจารย์ผู้สอน


-รายชื่อเพื่อน


-หน่วยงานสนับสนุน


-แนวการสอน


- งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์


- บทความ


- เพลง


- สื่อ(เพลง, เกม, นิทาน, แบบฝึกหัด, ของเล่น)
การนำไปประยุกต์ใช้
- เราสร้างบล็อกเพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลในการเรียนการสอนตามเนื้อหาที่ที่อาจารย์สอนและเราสามารถนำความรู้ที่เราได้รับไปจัดกิจกรรมให้กับได้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
- สามารถนำไปใช้กับวิชาอื่นได้
- สามารถสร้างเพื่อเก็บข้อมูลความรู้ที่เราได้เรียนไปและเมื่อเราอยากจะศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่เราเรียนผ่านมาแล้วก็สามารถกับมาดูได้